ไทยแลนด์แดนมหัศจรรย์Share Buttons

เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเลยทีเดียวสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ในการเริ่มต้นให้อาหารเด็กวัยแรกเกิด ไปจนถึงอายุ 3 ขวบที่ยังไม่รู้ว่าควรจะเตรียมตัวให้อาหารเด็กแก่ลูกรักอย่างไร ทำเมนูอาหารเด็กแบบไหนจึงจะเหมาะสม อีกทั้งยังต้องคัดสรรอาหารเสริมเด็กที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและสติปัญญาของลูกน้อยด้วย  ดังนั้นเรามาวิธีการให้อาหารเด็กให้เหมาะสมกับช่วงอายุ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปรุงเมนูอาหารเด็กที่ถูกปาก เหมาะสมกับร่างกายให้กับลูกรักกัน

อาหารเด็ก

The mother admiring at her son

ทารกแรกเกิด – 6 เดือน

สำหรับทาแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือนนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยทานนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องให้อาหารอย่างอื่น เนื่องจากในทารกแรกเกิดนั้นมีระบบลำไส้และระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก เป็นการปรับสภาพร่างกายของลูกน้อยในช่วงเริ่มต้น แต่ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าน้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกายลูกรักเป็นอย่างมากอีกทั้งยังช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี  หมดกังวลเรื่องขาดสารอาหารอย่างแน่นอน

 

อาหารเด็ก 6 เดือน

สำหรับเด็กทารกที่มีอายุ 6 เดือนนั้นสามารถที่จะป้อนอาหารได้แล้ว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความแข็งแรงของลูกน้อยด้วย ซึ่งสำหรับเด็กวัยนี้จะเป็นการป้อนอาหารเสริมเด็กที่ปราศจากเครื่องปรุงรสใดๆทั้งสิ้น โดยเริ่มต้นควรเป็นข้าวกล้องบด ผสมกับน้ำซุปกระดูกหมูหรือน้ำแกงจืด หลังจากนั้นค่อยๆปรับเปลี่ยนเมนูทุกๆ 5 – 7 วันเพื่อให้ลูกชินและคุ้นเคยกับรสชาติอาหารหลายๆชนิด โดยการผสมข้าวกล้องบดกับไข่แดง หรือผักชนิดต่างๆ เช่น แครอท ตำลึง ฟักทอง เป็นต้น รวมไปถึงเนื้อปลา เต้าหู้อ่อน โดยเน้นอาหารหลักเป็นข้าวกล้องบด และค่อยๆลดปริมาณการทานนมแม่ของลูกลง  เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

อาหารเด็ก2

อาหารเด็ก  1 – 3 ขวบ

สำหรับลูกน้อยที่มีอายุ 1 ขวบ จนถึง 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ควรป้อนอาหารเด็กให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเน้นเมนูอาหารเด็กที่มีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ไม่ควรปรุงรสจัด โดยอาหารเด็กนั้นควรเน้นข้าวกล้องบดเป็นหลัก พร้อมทั้งเนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และเสริมผลไม้ให้ลูกเพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

 

สำหรับการป้อนอาหารเด็กที่มีอายุ 1 ขวบจนถึง 3 ขวบนั้นจะอยู่ในช่วงที่ลูกเริ่มมีการต่อต้านการรับประทานอาหารพร้อมทั้งสนใจสิ่งต่างๆรอบกายอยู่ตลอดเวลา เช่นมีอาการไม่อยากทานข้าว อมข้าว หรือไม่ชอบทานผัก ติดเล่น  คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะใส่ใจและให้เวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่บังคับหรือดุลูกจนเกินไปเพราะจะยิ่งทำให้เขาไม่ชอบการทานอาหาร รวมไปถึงควรเลือกผักที่ไม่ขมหรือฉุนเกินไปในการนำมาเป็นเมนูอาหารเด็ก

By info

Related Post